Welcome to Cosplay Contestการประกวดคอสเพลย์ในมุมมองของกรรมการ

จริงๆแล้วตัวผมเองชอบไปเขียนบทความอะไรต่างๆเกี่ยวกะคอสเพลย์ในบล็อกส่วนตัวซะเยอะ พอไปคิดไปมาก็รู้สึกว่า น่าเสียดายจังที่บทความเหล่านั้นค่อยๆหายไปตามเอนทรีที่มาทดแทนใหม่เรื่อยๆ ยิ่งตัวเองทำเว็บคอสเพลย์อยู่แล้วด้วยเลยยิ่งรู้สึกว่า ทำไมเราปล่อยปละละเลยตรงนี้จัง โดยสำหรับบทความคราวนี้Welcome to Cosplay Contestเรียบเรียง ปรับปรุงจากเอนทรีในบล็อกส่วนตัวผมนะครับ เนื้อหารวมๆก็ค่อนข้างจะเหมือนเดิมเพียงแต่ปรับให้ละเอียดและรัดกุมมากขึ้นนะครับ

Welcome to Cosplay Contestยินดีต้อนรับสู่ การประกวดคอสเพลย์ในมุมมองหลังโต๊ะกรรมการ

Welcome to Cosplay Contest

แต่ก่อนหน้านั้นขอทำความตกลงกันก่อนว่าเราจะมาพูดถึง กระบวนการการตัดสินคอสเพลย์ในรูปแบบที่ควรเป็น นั่นคือ เรื่องของข้อสงสัยเกี่ยวกับการโกง ล็อกผล ลำเอียง ฮั้ว ฯลฯ จะไม่ถูกนำมาพูดถึงด้วยเหตุว่าถ้ามีการโกง ไม่ว่าจะจุดไหนในกระบวนการมันก็เป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งนั้น (ฮา) เพราะฉะนั้นด้วยความที่มันเป็นอย่างนี้ ถ้าเขียนไปก็ดูจะทำให้ไม่สามารถเข้าถึงแก่นที่ต้องการเสนอว่าการประกวดคอสนั้น มีกระบวนการอะไรมากกว่าที่คิด

 

สมัยก่อนผมเองก็ยอมรับนะว่า รู้สึกว่าการประกวดคอสเพลย์หลายๆเวทีนั้น ผลออกมาดูแปลกๆ ตรงนี้ขอข้ามประเด็นที่ว่าทำไมถึงรู้สึกอย่างนั้นไปก่อน เช่น กรรมการไม่สันทัดบ้าง กติกาไม่รัดกุมบ้าง อะไรบ้างแบบนี้ไปก่อนนะครับ

แต่ยอมรับว่าพอเจอกับตัวเองมากขึ้น พูดคุยสนทนาก็หลายๆคนมากขึ้น ก็ยิ่งได้รู้มากขี้นว่า ยิ่งตัวเองรู้มากเท่าไรก็ยิ่งรู้ตัวว่ามีอะไรซับซ้อนที่เราไม่รู้มากขึ้น

พอมานึกดูแล้วตัวผมเอง ณ ตอนนี้ที่เขียนบทความนี้ก็ได้มีโอกาสเป็นกรรมการคอสเพลย์มาได้ 6 งานได้คือ

1.มหกรรมภาษาและวัฒนธรรม : Smilely Cos
2.Tukcom Cover Live & Cosplay 2007
3.Ota Ota Suki #3Sakura Bloom Bloom
4.Ota Ota Suki #4 in wonderland
5.Manga Marche a sequence
6.IT Square Cover & Cosplay Contest 2009

เพียง 6 งาน 6 รูปแบบการตัดสิน สิ่งที่ได้พบทำให้ตัวผมได้รู้เลยว่า คอสเพลย์ไม่ใช่เรื่องตัดสินได้ง่ายๆเลย และผมเชื่อว่า แม้จะทำออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็ไม่มีทางที่จะสร้างความยุติธรรมสมบูรณ์แบบได้ เพราะอะไร? …เพราะคอสเพลย์มีรูปแบบหลากหลายมากในแต่ละเวที

และตรงความหลากหลายนี้ บางครั้งผู้ชนะจึงไม่ได้แปลว่าดีที่สุดเสมอไป แต่อาจจะเป็นผู้ที่มีคอนเสปตรงกับเวทีนั้นๆมากกว่า

ก็จะพยายามอธิบายกระบวนการในแต่ละจุดละนะครับ อาจจะยาวไปนิดต้องขออภัยนะครับ

 

คอนเสปของกรรมการตัดสิน

ต้องบอกก่อนเลยว่า กรรมการแต่ละคนมีแนวทางของแต่ละคน ตรงนี้ล้วนมาจากประสบการณ์ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ แตกต่างกัน บางคนเคยคอสเพลย์มาก่อนก็ย่อมรู้ว่าในการคอสนั้นมีอะไรบ้าง บางคนเคยทำอุปกรณ์เสริมมาก่อนก็ยิ่งรู้ว่าแต่ละชิ้นที่คนคอสบนเวทีทำมา ล้วนผ่านมาจากการตั้งใจทำมากน้อยแค่ไหน

อย่างส่วนตัวผมเองคงจะเน้นไปที่ความเหมือนมาก่อนความสวย” …. ซึ่งถ้าใครเจอตัวผมเป็นกรรมการในการประกวดไหนๆ บอกได้เลยว่า ใครขึ้นเวทีด้วยชุดออริจินอลคิดเอง ผมคงจะให้คะแนนต่ำในแง่ของความเหมือนแน่ ด้วยเหตุว่าไม่รู้จะไปเทียบกับต้นแบบอะไรนี่คือตัวอย่างของคำว่าแนวทางของกรรมการแต่ละคน

ครั้งหนึ่งผมเคยมีประสบการณ์ที่กรรมการข้างๆเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นแนวทางของเค้าก็ต่างไปเลยคือดูว่าเสื้อผ้า เย็บเป็นระเบียบไหม รอยตะเข็บเป็นอย่างไร

ไหนจะเรื่องของการแสดงอีก แม้กรรมการบางคนจะบอกว่าเน้นการแสดงแต่บางคนอาจจะเป็นการเน้นที่ว่าแสดงตรงตามเนื้อเรื่องที่คอสไหมกับอีกคนที่เน้นว่าสร้างสรรค์แค่ไหนโดยไม่จำเป็นต้องอิงต้นฉบับ

พอจะเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมครับว่า กรรมการที่แต่ละคนจะไปเจอในแต่ละงาน มีผลในการตัดสินในรูปแบบความติดต่างๆกัน และด้วยความที่คอสเพลย์ก็มีความแตกต่างหลากหลาย ผลก็คือ คะแนนก็จะแล้วแต่ว่าชุดที่ลงประกวดไปโดนแนวทางความคิดไหนด้วยนั่นเอง

ยังไม่รวมไปถึงการรู้จักตัวละครของกรรมการเพราะแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีกรรมการคนไหนรู้จักการ์ตูน เกม วงดนตรี ฯลฯ ทั้งหมด ในบางงานนั้นเปิดรับสมัครก่อนล่วงหน้าก็ยังพอทำการบ้านหารูปต้นแบบมาเทียบได้ แต่ก็มีอีกหลายงานที่กรรมการเองก็ไม่รู้ว่าจะเจอกับคอสเพลย์อะไรบ้าง จนกว่าจะได้เห็น ณ วินาทีนั้นจริงๆ

Welcome to Cosplay Contest
ถ้ารู้ล่วงหน้าว่ามีคนลงประกวดชุดไหนบ้าง ก็ยังพอทำการบ้านมาก่อนได้
(ในรูปคือ เปิดรูปต้นแบบใน Notebook เพื่อเทียบกะคนคอสเพลย์)

ผมขอยกตัวอย่างคือตัวผมเอง ผมแทบไม่ได้อ่าน Black Butlerถามว่า ถ้ามีคนคอสขึ้นมา ผมยังพอตัดสินได้ด้วยเหตุว่า ผมเคยเห็นตัวละครมาก่อนบ้าง .. แต่ถ้าเทียบกับกรรมการอีกคนหนึ่ง ที่เคยอ่าน เค้าทั้งรู้ว่าเหมือนในชุด และรู้ว่า การแสดงออกต่างๆ การโพสท่า นั้นเหมือนแค่ไหนมากกว่า

คอนเสปของงาน

และตรงนี้ก็จะมาครอบคอนเสปของกรรมการอีกที
โดยปกติแล้วในใบคะแนน จะมีหลักๆก็ ความเหมือน ความสวย การแสดงแต่ว่าในแต่ละงานก็จะมีรายละเอียดยิบย่อยแตกต่างไป เช่น

มีคอนเสปงาน เช่น งานต้องการสร้างรอยยิ้ม ก็อาจจะมีช่องคะแนนเป็น ความเหมือน สวยงาม สร้างสรรค์ การแสดงออกที่ทำให้ผู้ชมประทับใจ (รอยยิ้ม) ก็เป็นได้ ต่อให้คอสออกมาดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่ตรงคอนเสปงาน โอกาสที่จะโดนตัดแต้มไปก็ย่อมมี

เน้นไปที่อะไรมากกว่า
เช่น มีใบคะแนนให้ 3 งาน
งานแรก: ความเหมือน 50 ความสวย 40 การแสดง 10
งานสอง: ความเหมือน 40 ความสวย 30 การแสดง 30
งานสาม: ความเหมือน 30 ความสวย 30 การแสดง 40

นาย A คอสไปดีมากมายสุดๆ เกราะอลังการงานสร้าง การแสดงเฉยๆ
นาย B คอสไปปานกลางๆ พร็อบโอเค การแสดงโอเค
นาย C คอสชุดไม่ค่อยดีเท่าไร ไม่เหมือน แต่สวยมาก แสดงดีโดนใจผู้ชม

Welcome to Cosplay Contest
ตัวอย่างใบคะแนน

…….. หากนาย A B และ C ทั้ง 3 คนนี้ไปแข่งแต่ละงานเลย จะมีความเป็นไปได้ที่ผลการแข่งขันออกมาคนละทาง
อันนี้คือตัวอย่างแบบง่ายๆ แค่ตัวอย่างง่ายๆก็เห็นแล้วใช่ไหมว่า มีความซับซ้อนมากขึ้นไปอีก …..
ทั้งคอนเสปของกรรมการแต่ละคน คอนเสปงาน ยังทั้งความหลากหลายของคอสเพลย์ ซึ่งบางงานประกวด 15 ทีม บางงานเป็น 100 ก็มี

บางทีก็ต้องยอมรับว่า แม้แต่ลำดับการขึ้นเวทีก็มีผล สมมุติคนแรกมาโห ชุดสวยมากกกกก ชั้นให้เลย 9 คะแนน” … คนที่สองมาเฮ้ย สวยกว่าอีก ให้เลยเต็ม 10” …..พอชุดที่สามมาโห อลังการล้านแปดกว่า 2 คนแรกมากๆ” ……แต่ก็ให้ได้แค่ 10 คะแนนเพราะมันเต็มที่แล้ว

ข้อนี้ หลายคนอาจจะถามว่า อ้าว แล้วทำไมไม่กลับไปแก้อันเก่า ตรงนี้คงต้องบอกว่า การพิจารณาแต่ละคนที่ขึ้นเวทีมาก็ต้องใช้สมาธิมากแล้ว ถ้าให้ย้อนกลับไปมีนั้น โอกาสที่จะกรอกคะแนนผิดๆถูกๆจะมีสูงมาก

คอนเสปของชุดคอสเพลย์

แค่คอสการ์ตูน กะคอส J-Rock อยู่บนเวทีเดียวกัน …. ก็ทำเอาหนักใจกรรมการแล้ว
ฝั่งหนึ่งคอสออกมาดีมากๆๆๆ เหมือน และเก่งในการเอาจินตนาการมาทำเป็นความเป็นจริง
ฝั่งหนึ่งคอสออกมาดีมากๆๆๆ เหมือน และสามารถหาวัสดุ เนื้อผ้า ได้ตรงตามศิลปิน

Welcome to Cosplay Contest

ต่างก็เด่น และดีในคนละแบบ ต่างคนล้วนเป็นผู้ชนะได้เพียงแต่มาอยู่เวทีเดียวกัน ตรงนี้คือตัวอย่างที่ผมยกแบบให้เห็นภาพนะครับ

หรือยกง่ายๆอีกก็
คนนึงคอสเกราะอลังการงานสร้าง สวยมาก แม้รายละเอียดไม่ได้เหมือนมากเท่าไรแต่ก็ดูออกว่าคอสตัวนี้
คนนึงคอสสวย แต่ชุดไม่ได้อะไรมาก แต่เหมือนสุดๆเพราะต้นแบบเป็นยังไง มาอย่างนั้น

ทีนี้ถ้าถามตามคอนเสปของคอสเพลย์ ยังไงก็ต้องเอาเหมือนไว้ก่อน แต่ถ้าเวทีนั้นเน้นความสวยมาก่อน ผลก็จะออกมาในอีกรูปแบบหนึ่ง

ทั้ง 3 อย่างนี้ เป็นเพียงหลักใหญ่คร่าวๆมากๆ
เมื่อนำเอาองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้มารวมกัน ก็จะเกิดกระบวนการการตัดสินให้คะแนนนั่นเอง ซึ่งผมจะลองยกตัวอย่างให้เห็นภาพกันมากขึ้นนะครับ

ผมขออนุญาตใช้รูปที่ตัวผมเองเคยคอสเป็นหลักละกันนะครับ (จริงๆอายนะ ฮา) เพราะตรงนี้เกรงจะเสียมารยาทถ้าใช่รูปคนคอสเพลย์ท่านอื่นๆนะครับ

Welcome to Cosplay Contest
(จริงๆเขินๆเหมือนกันนะ เอารูปตัวเองมาแปะแบบนี้)

จริงๆในตัวอย่างก็ถือว่ายังคอสออกมาไม่ดีเท่าไร แต่เพราะคอสตัวเดิมแต่คนชุดออกมาไม่เหมือนกัน จึงคิดว่าเหมาะกับการนำมาเป็นตัวอย่างนะครับ

Event #1 A Cosplay Contest Carnival

กรรมการ นาย A โดยในใบคะแนน แบ่งคะแนนเป็น ความเหมือน (30) ความสวย (30) สร้างสรรการแสดง (30) ออป (10) รวม 100 คะแนน

เรามาดูการให้คะแนนกัน
กรรมการ A:
ความเหมือน (30)- อืม Goog ดูจะเหมือนกว่า Gig เพราะสีชุดตรงกว่า ทรงผมไม่เหมือนพอๆกัน
ให้ Goog 20 คะแนน : Gig 15 คะแนน

ความสวยงาม -อืม Goog สีสวยกว่าแฮะ Gig ดูมืดไป
ให้ Goog 25 คะแนน : Gig 15 คะแนน

สร้างสรรการแสดงอืม Goog มันส์แสดงดีแฮะ ตอนแรกต่อสู้ ตอนหลังรั่ว Gig แค่เก็กเฉยๆ
ให้ Goog 25 คะแนน : Gig 15 คะแนน

ออป พอๆกัน แต่เหมือนว่า Gig จะมีอะไรมากกว่า
ให้ Goog 20 คะแนน : Gig 25 คะแนน

ผลรวมคะแนน Googได้ 90 คะแนน Gigได้ 70 คะแนน ….Mr.Goog เป็นผู้ชนะการประกวด

Event#2 B Cosplay Contest Festival

กรรมการท่านเดียว (แต่อีกคน) โดยแบ่งคะแนนเป็น ความเหมือน (40) ความสวย (20) สร้างสรรการแสดง (20) ออป (20)

กรรมการ 1:
ความเหมือน อืม Gig ดูจะเหมือนกว่า Goog นะ เมื่อดูรวมๆแล้ว
ให้ Goog 25 คะแนน : Gig 35 คะแนน

ความสวยงาม -อืม Goog สีสวยกว่าแฮะ Gig ดูมืดไป
ให้ Goog 15 คะแนน : Gig 10 คะแนน

สร้างสรรการแสดง อืม Goog แสดงไม่เหมือนตัวละครแฮะ ดันออกมารั่ว Gig แค่เก็กเฉยๆแต่ก็เหมือนนะ
ให้ Goog 10 คะแนน : Gig 15 คะแนน

ออป พอๆกัน แต่เหมือนว่า Gig จะมีอะไรมากกว่า
ให้ Goog 10 คะแนน : Gig 20 คะแนน

ผลรวมคะแนน Goog ได้ 60 คะแนน Gig ได้ 80 คะแนน ….Mr.Gig เป็นผู้ชนะการประกวด

………เริ่มเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับ ในตัวอย่างเรายังใช้ปัจจัยเพียงกรรมการ 1 คนในตัวอย่าง ยิ่งในความเป็นจริงถ้ากรรมการ 3 คนขึ้นไปนี่คะแนนจะยิ่งซับซ้อนหลากหลายมากขึ้นอีก ชนิดที่ว่างานที่ตัวผมเป็นกรรมการ พอให้คะแนนเสร็จแล้ว ยังเดาไม่ค่อยออกเลยว่าใครจะชนะ ถามว่ารู้ว่าใครได้ผลรางวัลอะไรตอนไหน ก็ตอนพร้อมๆกับคนร่วมงานทุกคนเหมือนกัน

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น กระบวนการแม้ว่าผลลัพท์อาจจะแตกต่างกัน แต่มันก็จะมีเรื่องของเหตุผลในการตัดสินแต่ละเวทีที่จะเป็นน้ำหนักถ่วงให้ ความสมเหตุสมผลของผลตัดสินกับคอนเสปงานนั้นเป็นประเด็นสำคัญ

ลองนึกถึงว่า ทีมนึงคอสหุ่นอลังการ อีกทีมคอสเกราะอลังการ อีกทีมคอสเทพอลังการแต่สุดท้าย ผู้ชนะเป็นคนคอส L จาก Death Note ที่ลืมเขียนขอบตา …. อันนี้ก็ต้องบอกว่า กรรมการเองคงต้องชี้แจงเหตุผลหนักหน่อยละ ว่าเหตุผลที่สมเหตุสมผลมันคืออะไร?

นี่เป็นเพียงหลักใหญ่แบบคร่าวๆนะครับ ยังมีปัจจัยอีกมากจริงๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีก ทั้งในแง่ของกติกา การคัดเลือกกรรมการ ฯลฯ แม้เพียงแค่ว่า คนคุมเวทีเปิดเพลงให้ทีมนึง ลืมเปิดให้อีกทีมนึง จะบอกว่าไม่มีผลเลยก็คงไม่ใช่ ตรงนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจเกิดขึ้นมาอย่างไม่คาดฝัน

ไหนจะเรื่องของการจะตัดสินยังไงให้ยุติธรรม
ขอยกตัวอย่างหนึ่งว่า สมมุติงานนึง ไม่ได้มีรางวัลที่ 1 2 3 แต่มีแยกรางวัลเป็นสาขาไปเลย เช่น การแสดงยอดเยี่ยม ชุดยอดเยี่ยม อุปกรณ์เสริมยอดเยี่ยม

แต่ทว่ามีอยู่ทีมหนึ่ง เด่นไปหมดทั้ง 3 อย่างตรงนี้ไปหมดเลย
ถ้าให้แบบตรงๆ ก็ต้องให้เค้าได้หมดทั้ง 3 รางวัลเพราะดีจริงๆ .. แต่ก็ยากที่จะไม่พ้นโดนมองในด้านลบแน่ๆ
ถ้าให้แบบแบ่งรางวัล ก็ให้เค้ารางวัลเดียว อีกสองรางวัลก็ให้อีกสองทีม แม้ว่าจะขัดสายตาคนดูก็ตามตรงนี้ก็ไม่แน่ใจว่าจะเรียกว่ายุติธรรมได้เต็มปากหรือเปล่า

 

 

บทส่งท้าย

ยาวไปไหมนะ (ฮา)

จริงๆด้วยความละเอียดของเรื่องนี้นั้น ยังสามารถเขียนได้อีกยาวมาก คิดว่าเพียงเท่านี้น่าจะพอก่อนดีกว่า แต่มีอีก 2 อย่างที่อยากทิ้งท้าย คือ

1.ตัวเต็งที่น่าจะชนะ ในบางงานไม่ได้มีเพียงคนเดียว
เคยไหม ที่แบบดูการแข่งขัน มีอยู่ 2-3 ทีมที่แบบว่า ไม่ว่าใครจะชนะก็ไม่แปลกนะ ตรงนี้หลังๆตัวผมใช้วิธีนี้นะเวลาเป็นคนดู เรามองจากผู้ที่น่าจะมีโอกาส โดยมองรวมๆก่อน

คือ ถ้าสมมุติเราเก็งๆไว้สัก 5 ทีม ประกาศผลมา ที่ 1-5 มีอย่างน้อย 3 ทีมที่เราเก็งไว้ (รวมไปถึงคนอื่นๆเก็งด้วย) ผมถือว่าไม่ได้ค้านสายตาอะไรมากมายนะครับ ทุกคนมีสิทธิที่จะชนะได้ เพียงแต่จะตรงกับคอนเสปที่เรากล่าวแต่ต้นแค่ไหนนั่นเอง

 

2.แพ้ในการแข่งขัน ไม่ได้แพ้ในการคอสเพลย์
ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพคือ สมมัติผมสอบได้ 90 คะแนนเต็มร้อย ยะฮุ้ว พ่อแม่ภูมิใจ ….แต่ดันได้ที่ 20 ของห้องด้วยเหตุว่า ดันไปอยู่ห้องที่มีแต่คนเก่งๆ

มันไม่ถูกที่จะมองว่าใช่สิ ชั้นมันห่วย ได้แค่ที่ 20” …ในเมื่อสามารถทำได้ถึง 90 คะแนนเลยนะ
มีอยู่อย่างหนึ่งที่กรรมการตัดสินให้ไม่ได้ คือ ใจที่รักและชื่นชอบในการคอสตัวนั้น บางคนชนะ ชุดอลังการ แต่เอาเข้าจริงไม่ได้รู้จักเลยว่าตัวเองคอสอะไร ชุดอุปกรณ์เสริมก็จ้างทำไม่ได้ทำเองสักกะจุดก็มี แต่เรื่องตรงนี้ กรรมการเห็นเพียงแค่บนเวทีเท่านั้น

คนที่จะตัดสินได้ คือตัวเราเอง เรารู้ตัวเองดีว่าที่คอสนั้นชั้นรัก ชอบ มากแค่ไหน การประกวดว่าตรงๆแล้วมันก็เหมือนเกมในรูปแบบหนึ่ง การแพ้ในเกม หรือชนะในเกม ไม่ได้บ่งบอกอะไรทั้งหมดได้เลยว่า คุณเป็นคนคอสที่ดีแค่ไหน ตัวผมเองตั้งใจที่จะทำชุดคอสออกมาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ทุกครั้งที่ทำ โดยไม่จำเป็นต้องประกวดทุกงาน เพราะตรงนั้นมันไม่ได้สำคัญเลย

Welcome to Cosplay Contest

ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
ก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ และได้ให้เห็นถึงอีกมุมมองหนึ่งที่บางครั้งพวกเราเองอาจจะนึกไม่ค่อยถึงนะครับ

แนะนำ ติชมได้เต็มที่นะครับ

Googgig



Comment Here


เลือกช่องทางในการคอมเมนต์ด้านล่าง

  • Facebook(0)
  • WordPress(3)
  • Google Plus()

3 thoughts on “Welcome to Cosplay Contestการประกวดคอสเพลย์ในมุมมองของกรรมการ

  1. อืม เเล้วการประกวดเจร๊อคเหมือนกันด้วยใช่ไหม
    ขอบคุณสำหรับบทความมากๆๆ

  2. อืมม เป็นบทความที่ดีมากเลยนะคะ
    ช่วยขยายความเรื่องการตัดสินได้มากเลยค่ะ

  3. ต้องขอขอบคุณที่เขียนบทความนี้ขึ้นมา ทำให้มีความเข้าใจกระบวนการในการตัดสินมากขึ้นจริงๆค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.